Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสตูล

สตูล


คำขวัญประจำจังหวัดสตูล "สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์"







ตราประจำจังหวัดสตูล

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล ในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยนั้น ไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบชายฝั่งทะเลในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี ดังปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า "ตามเนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็นสองพวก คือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพวกพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช พวกเมืองสตูลคงจะมาฟังบังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่าเมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง ๒ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราชอย่างครั้งพระยาอภัยนุราชหรือยิ่งกว่านั้น"เรื่องเกี่ยวกับเมืองสตูลยังปรากฎในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา แต่ข้อความที่ปรากฎบางตอนเกี่ยวกับชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูล ไม่ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ประวัติเกี่ยวกับเมืองสตูลในการจัดรูปแบบการปกครองเมือง ตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รักษาเมืองไทรบรี เมืองเปอร์ลิส และเมืองสตูลเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า "มณฑลไทรบุรี" โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิต) เป็นข้าราชการเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรี เมืองสตูลได้แยกจากเมืองไทรบุรีอย่างเด็ดขาด ตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมาลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๒) จากหนังสือสัญญานี้ยังผลให้ไทรบุรีและปลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลคงเป็นของไทยสืบมาจนถึงปัจจุบันเมื่อปักปันเขตแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระราชโองการโปรดให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๓)ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมา จนถึงกระทั่งทุกวันนี้คำว่า"สตูล" มาจากคำภาษามาลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อน อันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่เมืองนี้ ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็นภาษามาลายูว่า "นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) " หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้จังหวัดสตูล แม้จะอยู่รวมกับไทรบุรีในระยะเริ่มแรกก็ตาม แต่จังหวัดสตูลก็เป็นจังหวัดที่มีดินแดนรวมอยู่ในประเทศไทยตลอดมา ระยะแรก ๆ จังหวัดสตูล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอมำบัง อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู ซึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอทุ่งหว้า ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมำบังเป็นอำเภอเมืองสตูล สำหรับอำเภอทุ่งหว้า ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศติดต่อ ไปมาค้าขายและรับส่งสินค้าเป็นประจำ สินค้าสำคัญของอำเภอทุ่งหว้า คือ "พริกไทย" เป็นที่รู้จักเรียกตามกันในหมู่ชาวต่างประเทศว่า"อำเภอสุไหวอุเป " ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ การปลูกพริกไทยของอำเภอทุ่งหว้าได้ลดปริมาณลง ชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำการค้าขายต่างพากันอพยพกลับไปยังต่างประเทศ ราษฎรในท้องที่ก็พากันอพยพไปหาทำเลทำมาหากินในท้องที่อื่นกันมาก โดยเฉพาะได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่กิ่งอำเภอละงูมากขึ้น ทำให้ท้องที่กิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้นอย่างรวมเร็ว และในทางกลับกัน ทำให้อำเภอทุ่งหว้าซบเซาลงครั้งถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้น มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าอำเภอทุ่งหว้า จึงได้ประกาศยกฐานกิ่งอำเภอละงูเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอละงู และยุบอำเภอทุ่งหว้าเดิมเป็นกิ่งอำเภอทุ่งหว้า เรียกว่า กิ่งอำเภอทุ่งหว้า ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอละงู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ กิ่งอำเภอทุ่งหว้าจึงได้รับสถานะเดิมกลับคืนมาเป็นอำเภอทุ่งหว้า
ประชากร
จังหวัดสตูล มีประชาการ 288,409 คน(รวบรวม พ.ศ.2551) โดยจังหวัดสตูลเป็นหนึ่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยที่มีประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 67.8 ส่วนรองลงมาคือชาวพุทธซึ่งมีอยู่ร้อยละ 31.9 และที่เหลือคือศาสนาคริสต์ ซึ่งศาสนิกส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองสตูล ถึงแม้ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ประชากรส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยโดยมาก จะมีชาวไทยเชื้อสายมลายูรวมถึงมลายู เพียงแค่ร้อยละ 9.9 ของประชากรเท่านั้น
ต้นไม้ประจำจังหวัด : หมากพลูตั๊กแตน
ดอกไม้ประจำจังหวัด : กาหลง
พื้นที่ : 2,479.0 ตร.กม.(อันดับที่ 63)
ความหนาแน่น 116.34 คน/ตร.กม.(อันดับที่ 42)
ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิปดา ถึง 7 องศา 2 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิปดา ถึง 100 องศา 3 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 973 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 2,478.997 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,549,361 ไร่ เป็นลำดับที่ 63 ของประเทศ และลำดับที่ 12 ของภาคใต้ รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดตรังทางทิศเหนือ จังหวัดสงขลาทางทิศตะวันออก และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซียตลอดแนวชายแดน (ทางทิศใต้) ยาวประมาณ 56 กิโลเมตร ติดต่อฝั่งอันดามันยาวประมาณ 144.8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกาะประมาณ 88 เกาะ

ภูมิประเทศ
พื้นที่จังหวัดสตูลทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นเนินเขาและภูเขาสลับซับซ้อน โดยมีทิวเขาที่สำคัญแบ่งเขต
ประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย คือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาสันกาลาคีรี พื้นที่ของจังหวัดค่อย ๆ ลาดเอียงลงสู่ทะเลด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ โดยยังมีภูเขาน้อยใหญ่อยู่กระจัดกระจายในตอนล่าง ภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาจีน เขาบารัง เขาใหญ่ เขาทะนาน และเขาพญาวัง และมีที่ราบแคบ ๆ ขนานไปกับชายฝั่งทะเล ถัดจากที่ราบลงไปเป็นพื้นที่ป่าชายเลนน้ำเค็มขึ้นถึง อุดมไปด้วยป่าแสมและป่าโกงกาง สตูลเป็นจังหวัดที่ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน คงมีแต่ลำน้ำสั้น ๆ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัด
ภูมิอากาศ
พื้นที่จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่าน
อ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,318 มิลลิเมตร ตกชุกที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.72 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 23.51 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 38.4 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 และอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 19.2 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 และเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 สภาพภูมิอากาศจังหวัดสตูล แบ่งได้เป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.6-39.5 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.9-38.8 องศาเซลเซียส
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 36 ตำบล 257 หมู่บ้าน
1. อำเภอเมืองสตูล
2. อำเภอควนโดน
3. อำเภอควนกาหลง
4. อำเภอท่าแพ
5. อำเภอละงู
6. อำเภอทุ่งหว้า
7. อำเภอมะนัง
งานเทศกาลงานประเพณี
งานประเพณีแข่งว่าวนานาชาติ จัดขึ้นทุกปีประมาณเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณสนามบินสตูล ก่อนถึงเมืองสตูลประมาณ 4 กิโลเมตร
งานตะรุเตา อาดัง ฟิชชิ่ง คลับ เป็นงานตกปลาที่จัดขึ้นประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี
งานเทศกาลท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดสตูล จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคม เพื่อเป็นการเริ่มเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวทางทะเล ในจังหวัดสตูล นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตาในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน
ประเพณีลอยเรือ จัดขึ้นในหมู่ของชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะในจังหวัดสตูล ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 11 ทุกปี เพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลและเสี่ยงทายอนาคตของการประกอบอาชีพ
การเดินทางไปยังสตูล
ทางรถยนต์ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม)หรือทางหลวงหมายเลข 35(ธนบุรี-ปากท่อ)ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4เป็นเส้นทางหลักของการเดินทางสู่ภาคใต้ ผ่านจังหวัดต่างฯไปจนถึงชุมพรจากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชเข้าสู่เมืองพัทลุงแล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาแล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 406 ผ่านอำเภอควนกาหลงและเข้าเมืองสตูลรวมระยะทางประมาณ 973 กม.
ทางรถไฟสตูลไม่มีทางรถไฟผ่านแต่สามารถเดินทางด้วยรถไฟได้โดยลงรถไฟที่สถานีหาดใหญ่ แล้วต่อรถแท็กซี่รถตู้โดยสาร หรือรถประจำทางไปยังจังหวัดสตูล ระยะทางประมาณ 97 กม.
รถโดยสารประจำทาง บริษัทขนส่ง จำกัด ให้บริการในเส้นทางกรุงเทพฯ-สตูล ทุกวัน จากสถานีขนส่งสายใต้ถนนบรมราชชนนี สอยถามรายละเอียดโทร.0 2434 5557-8,0 2435 1199 หรือ http://www.transport.co.th/
ทางเครื่องบิน ไม่มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดสตูลแต่สามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-หาดใหญ่แล้วโดยสารรถยนต์จากอำเภอหาดใหญ่ไปสตูลระยะทางประมาณ 97 กม.สอบถามรายละเอียดและตารางบินได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัด โทร.1566,0 2356 1111,0 2328 2000 หรือ
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสตูล
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์ และความสวยงามของธรรมชาติ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ห่างจากตัวเมืองสตูลประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบารา 22 กิโลเมตร มีอาณาเขตทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทิศใต้จดทะเลที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งเกาะและทะเลรวมกันประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อย จำนวน 51 เกาะ มีเกาะขนาดใหญ่ 7 เกาะ ได้แก่ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี แบ่งออกเป็น 2 หมู่เกาะใหญ่ คือ หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2517 และ ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2525 ให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves) ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เมษายนสถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
เกาะตะรุเตา นับเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของอุทยาน มีพื้นที่ 152 ตารางกิโลเมตร มีป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ หาดทรายละเอียดขาว ฟ้าทะเลสีครามงามจับใจ คำว่า “ตะรุเตา” นี้ เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก เช่น อ่าวพันเตมะละกา อ่าวสน อ่าวมะขาม อ่าวตะโละวาวดาบ อ่าวตะโละอุดัง บริเวณเกาะตะรุเตามีสถานที่น่าสนใจดังนี้
เกาะตะรุเตา นับเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของอุทยาน มีพื้นที่ 152 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้น ซึ่งยังมีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาด สวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คำว่า “ตะรุเตา” นี้ เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก
อ่าวพันเตมะละกา มีชายหาดยาวขาวสะอาด เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนหนึ่ง จัดเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของเกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกายังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตก ที่สวยงาม และจากอ่าวพันเตมะละกา ยังสามารถเดินขึ้นไปยังจุดชมวิวผาโต๊ะบู ได้อีกด้วย
อ่าวจาก เป็นอ่าวเล็กๆติดต่อกับอ่าวพันเตมะละกา
อ่าวเมาะและ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 4 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด และดงมะพร้าวสวยงาม เงียบสงบ มีบังกะโลเหมาะสำหรับพักผ่อน
อ่าวสน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 8 กิโลเมตร เป็นอ่าวรูปโค้งที่มีหาดทรายสลับกับหาดหิน และเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล มีจุดกางเต้นท์ บริการอาหารและเครื่องดื่ม มีน้ำตกขนาดเล็กคือ น้ำตกลูดู และน้ำตกโละโป๊ะ เหมาะสำหรับเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
อ่าวตะโละวาว อยู่ทิศตะวันออกของเกาะ เป็นจุดที่สามารถชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามอีกมุมหนึ่ง เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ตต.1 (ตะโละวาว) พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพสำหรับนักโทษกักกันและนักโทษอุกฉกรรจ์ ปัจจุบันทางอุทยานฯได้จำลองอาคารสถานที่ที่เคยอยู่ในนิคมฝึกอาชีพ เช่น บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนของนักโทษ โรงฝึกอาชีพ หลุมศพ 700 ศพ ไว้ในบริเวณดังกล่าวอ่าวตะโละอุดัง อยู่ทางทิศใต้ของเกาะ ห่างจากเกาะลังกาวี 8 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ ตต.2 (ตะโละอุดัง) อดีตเป็นที่กักกันนักโทษการเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดช และกบฏนายสิบ
น้ำตกลูดู เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม อยู่ห่างจากอ่าวสนประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งจากบริเวณอ่าวสนมีเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติไปยังน้ำตกลูดู
ถ้ำจระเข้ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 300 เมตร ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีลักษณะแตกต่างกันไป การเดินทางไป ถ้ำจระเข้ต้องนั่งเรือหางยาวไปตามคลองพันเตมะละกา ซึ่งอุดมไปด้วยป่าชายเลนที่มีไม้โกงกางจำนวนมากตลอดสองฝั่งคลอง โดยใช้เวลาล่องเรือประมาณ 20 นาทีและใช้เวลาชมถ้ำประมาณหนึ่งชั่วโมง ติดต่อได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ ผู้ที่จะเที่ยวชมภายในตัวถ้ำควรนำไฟฉายไปด้วย
จุดชมวิว “ผาโต๊ะบู” เป็นหน้าผาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 60 เมตร เส้นทางเดินขึ้นไปตามแนวป่าดิบแล้ง ใช้เวลาเดินขึ้นจุดชมวิวประมาณ 20 นาที อยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยานฯ เป็นจุดชมทิวทัศน์ของเกาะบริเวณชายหาด อ่าวพันเตมะละกา จะเห็นเกาะบุโหลน เกาะกลาง เกาะไข่ เกาะอาดัง เกาะราวี หมู่เกาะเภตรา และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกมุมหนึ่ง
เกาะไข่ อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตก เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ระหว่างเกาะตะรุเตาและเกาะอาดัง ใช้เวลาเดินทางจาก เกาะตะรุเตาประมาณ 40 นาที สิ่งที่มีชื่อเสียงบนเกาะไข่ ได้แก่ ซุ้มประตูหินธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ทะเลรอบๆ เกาะไข่มีแนวปะการังอยู่โดยทั่วไป ทางอุทยานฯ ไม่อนุญาตให้ค้างแรมบนเกาะ เรือโดยสารจากเกาะตะรุเตาไป ยังเกาะหลีเป๊ะ มักจะวิ่งผ่านเกาะไข่ซึ่งอยู่ระหว่างทาง
กิจกรรมบนเกาะตะรุเตา
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ จากที่ทำการอุทยานฯ บริเวณอ่าวพันมะละกามีเส้นทางเดินเท้าผ่านป่าดงดิบไปอ่าวตะโละวาว ระยะทาง 12 กิโลเมตร สองข้างทางสภาพเป็นป่าดงดิบหนาทึบ ร่มรื่นไม้นานาพรรณ มีสัตว์ป่า เช่น หมูป่า กระจง และนกน่าสนใจหลายชนิด โดยเฉพาะนกเงือกที่พบได้บ่อย อีกเส้นทางหนึ่งไปอ่าวจาก อ่าวมะและ จนถึงอ่าวสน ระยะทาง 8 กิโลเมตร จะผ่านป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ และยังเหมาะแก่การดูนกอีกด้วย
เส้นทางล่องเรือรอบเกาะ เพื่อศึกษาธรรมชาติแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยอุทยานฯ จะจัดเรือบริการพร้อมเจ้าหน้าที่นำทางชมหาดทรายต่าง ๆ เริ่มจากแวะดูนกที่อ่าวจาก ชมหาดทรายขาวและยาวที่สุดบนเกาะตะรุเตาที่อ่าวสน ศึกษาร่องรอยประวัติศาสตร์ที่อ่าวตะโละอุดัง ชมธรรมชาติที่อ่าวตะโละวาว แวะดำน้ำและเที่ยวป่าชายเลน ใช้เวลาในการล่องเรือ 1 วัน ผู้สนใจติดติดได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ได้ดูข้อมูลแบบนี้ผมซึ่งไม่เคยไปสตูลคงทั้งที่เที่ยว(ทำงาน)ไปแทบจะทุกจังหวัดแล้วต้องหาเวลาไปเที่ยวเกาะตะรุเตาบ้างซะแล้วสิเพื่อนๆที่อยากไปสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้อีกนะครับเกี่ยวกับเกาะตะรุเตานี้ข้อมูลและรูปภาพเยอะมาก
หมู่เกาะอาดัง-ราวี
หมู่เกาะอาดัง-ราวี อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กม. ห่างจากตัวเมืองประมาณ 80 กม. เป็นเกาะที่เป็นสวนแห่งปะการังใต้ท้องทะเล บางบริเวณอยู่ในน้ำตื้นสามารถมองเห็นได้จากผิวน้ำ หมู่เกาะอาดัง-ราวีแห่งนี้ มีเนื้อที่เกาะประมาณ 30 ตรกม. ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูง มีป่าปกคลุมแลดูเขียวครึ้ม ทางด้านหลังมีน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดปี คำว่า "อาดัง" มาจากคำเดิมในภาษามลายูว่า "อุดัง" มีความหมายว่า "กุ้ง" เพราะบริเวณนี้เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้งทะเล นอกจากนี้ก็มีเกาะเล็ก เกาะน้อยอื่นๆ อีก เช่น เกาะดง มีเนื้อที่ 8 ตรกม. เกาะหลีเป๊ะมีเนื้อที่ 4 ตรกม. มักเรียกชื่อรวมของเกาะอาดัง เกาะราวี เกาะดง เกาะหลีเป๊ะ ว่า"หมู่เกาะอาดัง-ราวี"


การเดินทางไปยัง หมู่เกาะอาดัง - ราวี
จากท่าเรือปากบารา จะมีเรือออกเวลา 10.30 น.และจะแวะที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตาก่อนหลังจากนั้นจะเดินทางต่อไปยังเกาะอาดังและเกาะหลีเป๊ะเรือจะกลับจากเกาะหลีเป๊ะ เวลา 09.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ค่าเรือไป - กลับคนละ 800 บาท

กิจกรรมที่น่าสนใจใน หมู่เกาะอาดัง - ราวี
- ชมความสวยงามของหมู่เกาะอาดัง-ราวีจากจุดชมวิวผาชะโด บนเกาะอาดัง
- ดำน้ำ ท่องโลกใต้ทะเลที่สวยงาม
- เดินเล่นบนหาดทรายขาวสวย เล่นน้ำทะเลใสๆ
- ลงเรือเที่ยวชมเกาะต่างๆ
- แค็มป์ปิ้ง พักผ่อนนอนฟังเสียงคลื่นกระทบฝั่ง


หาดอ่าวนุ่น เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา หนึ่งในสองอุทยานแห่งชาติทางทะเลของจังหวัดสตูล อ่าวนุ่นมีเวิ้งอ่าวที่สวยงามเป็นวงโค้งที่มีเขาสูงเป็นฉากหลัง ภาพของหมู่เกาะ น้ำทะเลสีเขียวมรกต หาดทรายสีขาวนวล ชีวิตชาวเรือ ขุนเขาและแมกไม้เขียวขจี ที่ได้พบเห็นที่หาดอ่าวนุ่น สวยสดไม่แพ้ที่อื่น มีชายหาดยาวน้ำใสน่าเล่นน้ำอย่างยิ่ง บริเวณที่ทำการอุทยานมีทางเดินชมธรรมชาติและจุดชมวิว ให้มุมมองที่หลากหลายและกว้างไกล ให้ความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวมิรู้ลืม

การเดินทางไปยังอ่าวนุ่น
จากจังหวัดสตูลใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416 (สตูล - ตรัง)ถึงอำเภอละงูใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4052 (ละงู - ปากบารา) บริเวณกิโลเมตรที่ 6-7ก่อนถึงท่าเรือปากบารามีทางแยกซ้ายมือไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่ เกาะเภตราอีกประมาณ 1.5 กม.
กิจกรรมที่น่าสนใจในอ่าวนุ่น
- ชมทิวทัศน์อ่าวนุ่นที่สวยงามจากจุดชมวิว
- เดินเล่นชายหาด เล่นน้ำทะเล
- พักค้างคืนที่บ้านพักของอุทยานที่อ่าวนุ่น

หาดปากบารา หาดทรายชายทะเลที่ยาวเหยียดขนานกับถนนไปสู่ท่าเรือปากบาราซึ่งเป็นท่าเรือที่จะเดินทางไปสู่หมู่เกาะตะรุเตาเกาะอาดัง-ราวีและเกาะอื่นๆในท้องทะเลสตูล หาดปากบาราเป็นหาดที่ยาวเม็ดทรายหยาบและไม่ขาวนัก สามารถลงเล่นน้ำได้เป็นบางช่วงทิวทัศน์ในท้องทะเลสวยงาม เหนือหาดจัดเป็นสถานที่พักผ่อนโดยเฉพาะในยามเย็นภาพอาทิตย์ตกจากมุมนี้สวยงามมากทีเดียว
การเดินทางไปยังหาดปากบารา
จากจังหวัดสตูลใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416 (สตูล -ตรัง)ถึงอำเภอละงูใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4052 (ละงู -ปากบารา)จะเลียบผ่านหาดปากบาราไปจน
ถึงท่าเรือ
กิจกรรมที่น่าสนใจในหาดปากบารา
- ชมทิวทัศน์หาดปากบาราและท้องทะเลสตูล
- เดิน-วิ่ง ออกกำลังกายตามทางเลียบชายหาด


อุทยานแห่งชาติทะเลบัน ตั้งอยู่ที่บ้านวังประจัน ตำบลวังประจัน อยู่ห่างจากอำเภอเมืองสตูล 40 กิโลเมตร อุทยานฯ มีเนื้อที่ 122,500 ไร่ โดยรวมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุปังปุโต๊ะและหัวกะหมิงและพื้นที่ป่าควนบ่อน้ำปูยู ในท้องที่ตำบลบ้านควน ตำบลปูยู อำเภอเมือง ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523
คำว่า “ทะเลบัน” มาจากคำว่า “เลิด เรอบัน” เป็นภาษามลายูแปลว่า ทะเลยุบหรือทะเลอันเกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน อุทยานแห่งชาติทะเลบัน เกิดจากการยุบตัวของพื้นดินระหว่างเขาจีนและเขามดแดง เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 63,350 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน อุดมไปด้วยพืชพรรณป่าไม้ที่ขึ้นอย่างหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น เลียงผา ช้าง สมเสร็จ หมูป่า ลิง ชะนี และ “เขียดว๊าก” (หมาน้ำ) ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งบึงทะเลบัน รูปร่างคล้ายกบ
และคางคก แต่มีหาง ส่งเสียงร้องคล้ายลูกสุนัข จะมีชุกชุมตามริมบึงโดยเฉพาะในฤดูฝน สำหรับผู้ชื่นชมการดูนกก็ไม่ควรพลาด เพราะมีนกหลายชนิดให้ดู เช่น นกแอ่นฟ้าเคราขาว นกปรอดคอลาย นกกางเขนน้ำหลังแดง นกหัวขวาน เป็นต้น
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน
บึงทะเลบัน เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่กลางหุบเขา ขนาบด้วยเทือกเขาจีนและเขาวังประ มีเนื้อที่ประมาณ 125 ไร่ มีปลาน้ำจืดและหอยชุกชุม รอบบึงจะมี “ต้นบากง” ขึ้นอยู่หนาแน่น ทางอุทยานฯ ได้สร้างศาลาท่าน้ำไว้ให้นักท่องเที่ยว ได้นั่งพักผ่อนและมีทางเดินไม้รอบบึง
น้ำตกยาโรย เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำในป่าหัวกระหมิง มี 9 ชั้น แต่ละชั้นเป็นแอ่งสามารถเล่นน้ำได้ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในท้องถิ่น การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4148 (สายควนสะตอ-วังประจัน) กิโลเมตรที่ 14–15 ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีทางแยกเข้าไปอีก 700 เมตร
น้ำตกโตนปลิว มีต้นน้ำมาจากภูเขาจีน เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีหลายชั้น ไหลจากหน้าผาสูง สวยงามมาก การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 4184 (สายควนสะตอ-วังประจัน) กิโลเมตรที่ 9–10 หรือห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 10 กิโลเมตร จะมีทางลูกรังแยกไปอีก 3 กิโลเมตร
เขตชายแดนไทย-มาเลเซีย (ด่านวังประจัน) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ เพียง 2 กิโลเมตร บริเวณเขตแดนมี หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ตั้งอยู่ หากเดินทางต่อไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร ก็จะถึงปาดังเบซาร์ ซึ่งมีสินค้าราคาถูกจำหน่าย หรือหากต้องการไปยังเมืองกางะ เมืองหลวงของรัฐเปอร์ลิส ก็สามารถไปได้เพียงเดินทางไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตรเท่านั้น ด่านนี้เปิดตั้งแต่ 07.00–18.00 น. และจะมีตลาดนัดทุกเช้าวันเสาร์-อาทิตย์

แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในจังหวัดสตูล
อ.เมือง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล (คฤหาสถ์กูเด็น) ตั้งอยู่ถนนสตูลธานีซอย 5 ตรงข้ามกับสำนักงานที่ดินจังหวัดสตูล สร้างเมื่อ พ.ศ.2441 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2459 โดย พระยาภูมินารถภักดี หรือ ตวนกูบาฮารุดดินบินตำมะหงง (ชื่อเดิม กูเด็น บินกูแม๊ะ) เจ้าเมืองสตูลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คฤหาสถ์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่ไม่ได้ประทับแรม เคยใช้เป็นบ้านพักและศาลาว่าการเมืองสตูล จนในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปีพ.ศ. 2484 อาคารหลังนี้ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล และเป็นสถานที่สำคัญทางราชการ ต่อมาปี พ.ศ. 2540-2543 กรมศิลปากรได้ปรับปรุงคฤหาสถ์กูเด็น เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น เป็นตึกแบบตะวันตก ประตูหน้าต่างรูปโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป หลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยใช้กระเบื้องดินเผา รูปกาบกล้วย บานหน้าต่างเป็นแผ่นไม้ชิ้นเล็ก ๆ เป็นเกล็ดแนวนอน ช่องลมด้านบนตกแต่งรูปดาวตามลักษณะสถาปัตยกรรม แบบอิสลาม ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองสตูล วิถีชีวิตของชาวสตูลในด้านต่างๆ เช่น ชีวิตชาวเลเกาะหลีเป๊ะ การปั้นหม้อ ห้องบ้านเจ้าเมืองสตูล ห้องวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิม ให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00–16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวต่างประเทศ 30 บาท ชาวไทย 10 บาท
สวนสาธารณะเขาโต๊ะพญาวัง อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสตูล ถนนคูหาประเวศน์ เป็นสวนสาธารณะที่มีบรรยากาศแตกต่างจาก สวนสาธารณะทั่วไปตรงที่ตั้งอยู่ติดภูเขาหินปูน จึงให้ความรู้สึกเหมือนนั่งอยู่ในบรรยากาศถ้ำมากกว่าสวนสาธารณะโล่ง นอกจากนี้ มีลำคลองไหลผ่านข้างสวน ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์จึงเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีร้านอาหารอยู่บริเวณใกล้
แหลมตันหยงโปและหาดทรายยาว อยู่ทางปากอ่าวสตูล ไปตามทางหลวงหมายเลข 4051 ( เส้นทางไปท่าเรือเจ๊ะบิลัง) ประมาณ 8 กิโลเมตร จะมีทางแยกไปยังบ้านตันหยงโปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นล้ำไปในทะเลอันดามัน เป็นพื้นที่ หมู่บ้านชาวประมง ชายหาดเต็มไปด้วยต้นมะพร้าวและบ้านเรือนชาวบ้าน จะพบเห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่โดยทั่วไปของชาวประมง และการตากของทะเลริมหาด
มัสยิดกลางจังหวัดสตูล หรือ มัสยิดมำบัง ตั้งอยู่บริเวณมุมถนนบุรีวานิชและถนนสตูลธานี กลางเมืองสตูล เป็นสถานที่ประกอบ พิธีทางศาสนา ลักษณะรูปทรงมัสยิดเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตัวอาคารสีขาวตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหินอ่อนและกระจกใส ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย ลักษณะเป็นยอดโดม สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูลได้ ส่วนในเป็นห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่ละหมาด ชั้นล่างมีห้องใต้ดิน
อ.ควนกาหลง
วนอุทยานน้ำตกธาราสวรรค์ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าเขาหมาไม่หยก” จัดตั้งเป็นวนอุทยานโดยกรมป่าไม้เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 เป็นเขตที่มีฝนตกชุกค่อนข้างสม่ำเสมอทำให้เกิดป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ ภายในวนอุทยานสามารถเที่ยวชมน้ำตกที่มีความสวยงามประกอบด้วย 3 ชั้น ชั้นแรกได้แก่ น้ำตกโตนต่ำ ชั้นที่สองได้แก่ น้ำตกสายฝน ชั้นที่สามได้แก่น้ำตกสอยดาว น้ำตกปาหนัน อยู่ตำบลทุ่งนุ้ย ห่างจากตัวเมืองสตูล 39 กิโลเมตร มีต้นน้ำมาจากภูเขากะหมิง ธรรมชาติรอบ ๆ น้ำตกยังสมบูรณ์ มีน้ำไหลตลอดปี แต่บริเวณน้ำตกมีการสร้างเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดย่อม
อ.ละงู
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านละงู อยู่ตรงข้ามวัดอาทรรังสฤษฎิ์ ถนนละงู-ฉลุง ตัวอาคารมี สองชั้น ชั้นล่างจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานฝีมือ ท้องถิ่นและขนม ชั้นบนจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ มีของจำพวกเครื่องทองเหลือง เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเงิน เตารีด ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ กระเบื้องเคลือบ เครื่องแก้ว เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เครื่องจักสาน นาฬิกา พัดลมซึ่งเป็นของสะสมของคุณชัยวัฒน์ ไซยกุล เปิดให้บริการทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร เวลา 10.00 -16.30 น.อัตราค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท นักเรียนในเครื่องแบบ 5 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันตกทางใต้ของไทย บริเวณช่องแคบมะละกา ฝั่งทะเลอันดามัน เกาะเภตรามีลักษณะคล้ายเรือสำเภา ครอบคลุมพื้นที่ชายหาดตลอดแนวฝั่งทะเลในท้องที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล และตำบลสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชันสูง มีพื้นที่ราบบริเวณหุบเขาและชายหาด มีป่าไม้ ภูเขา สัตว์ป่า ปะการังหลากสีสวยงาม ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่สำคัญต่างๆ คือ เกาะเภตรา เกาะลิดี เกาะบุโหลน เกาะเขาใหญ่ เกาะละโละแบนแต เกาะเหลาเหลียง และเกาะเปรามะ
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
อ่าวนุ่น เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ อยู่บนโค้งเวิ้งอ่าวธรรมชาติที่มีบรรยากาศเงียบสงบ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและบ้านพัก
หาดราไว เป็นชายหาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 และ 4 ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า ห่างจากที่ทำการทุ่งหว้า ประมาณ 26 กิโลเมตร เข้าตรงทางแยกบ้านวังตง มีต้นสนอยู่ตลอดแนวชายหาด มีภูมิทัศน์ที่เหมาะสำหรับตั้งค่ายพักแรม
เกาะลิดีเล็ก อยู่ห่างจากที่ทำการฯ (อ่าวนุ่น) ประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์ฯ บนเกาะมีชายหาดทรายขาว น้ำใสเหมาะจะเล่นน้ำพักผ่อน ด้านข้างของเกาะมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ มีสัตว์น้ำหลายชนิดอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวที่จะพักบนเกาะต้องนำเต็นท์และอาหารมาเอง เพราะยังไม่มีร้านอาหารบริการ ส่วนเกาะลิดีใหญ่ ซึ่งอยู่ข้างเกาะลิดีเล็ก เป็นเกาะสัมปทานรังนกนางแอ่น
เกาะบุโหลน อยู่ห่างจากท่าเทียบเรือปากบาราประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลใสสวยเล่นน้ำได้ มีจุดดำน้ำตื้นและดำน้ำลึกกระจายอยู่หลายจุด เช่น เกาะอายำและเกาะหินขาว ยามค่ำคืนบริเวณชายหาดมีปูเสฉวน ปูลม ให้ดู และยังเป็นจุดดูพระอาทิตย์ตกที่สวยงามจุดหนึ่งด้วย
น้ำตกวังสายทอง อยู่ริมถนน ร.พ.ช. สายทุ่งนางแก้ว-วังสายทอง ความงามของน้ำตกแห่งนี้อยู่ที่แอ่งน้ำแต่ละชั้นจับหินปูน ลักษณะคล้ายดอกบัวบานซ้อนลดหลั่นกันในแอ่งที่สวยงาม บริเวณน้ำตกมีต้นไม้ร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

อำเภอทุ่งหว้า
น้ำตกธารปลิว อยู่หมู่ 7 ตำบลทุ่งหว้า ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 14 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีต้นน้ำเกิดจากเขาลุงเครอะ ในเขตจังหวัดตรัง-สตูล มี 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นแอ่งน้ำขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 50 เมตร รอบ ๆ บริเวณร่มรื่นด้วยพรรณไม้หลากหลาย

1 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ