Custom Search

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่

ตราประจำจังหวัดกระบี่
หอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสด มรกตอันดามัน
จังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก คือทะเลอันดามัน ติดต่อกับจังหวัดพังงา และสุราษฎร์ธานีทางด้านทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดตรังทางด้านทิศใต้ และติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดนครศรีธรรมราชทางด้านตะวันออก ตัวจังหวัด ตั้งอยู่ระหว่างแนวเทือกเขาที่สำคัญของภาคใต้สองแนวคือ แนวเทือกเขาภูเก็ตอยู่ทางทิศตะวันตก แนวเทือกเขานครศรีธรรมราชอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจาก เทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่ส่วนใหญ่มีภูเขาหินปูนเป็นลูกโดด ๆ เตี้ย ๆ มีถ้ำหินปูน บ่อน้ำร้อนและแอ่งน้ำที่เกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด ที่ราบเชิงเขาที่ลาดเอียงไปทางชายฝั่งด้านใต้ และด้านตะวันตก และที่ราบแคบ ๆ แถบชายฝั่ง พื้นที่ตอนกลางมีแนวภูเขาที่สำคัญคือ ภูเขาพนมเบญจาอยู่ในเทือกเขาภูเก็ต วางตัวอยู่ในแนวเหนือ - ใต้ เป็นภูเขาที่มียอดเขาสูงสุดในแนวเทือกเขาภูเก็ต คือสูง 1,400 เมตร เป็นแนวสันปันน้ำ ด้านตะวันตกไหลลงสู่อ่าวพังงา ด้านตะวันออกไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี ด้านทิศเหนือไหลลงสู่แม่น้ำตาปี ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดกระบี่มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 160 กิโลเมตร เป็นชายฝั่งทะเลยุบตัวอันเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใกล้กับแนวแผ่นดิน มีลักษณะเว้าแหว่ง และสูงชันต่างกัน บางบริเวณมีภูเขาติดกับชายฝั่งทะเล เช่น เขากาโรส และมีเกาะอยู่นอกชายฝั่งอยู่ถึง 130 เกาะ ในบรรดาเกาะดังกล่าวมีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 13 เกาะ เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตา เกาะจำ เกาะพี - พี เกาะศรีบอยา เกาะไหง และ อื่นๆ พื้นที่ชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลนไหล่ทวีปผืนแคบ ๆ มีหาดทรายอยู่น้อย มีบางบริเวณถูกแรงบีบอัดของเปลือกโลก ทำให้ท้องทะเลเดิมถูกยกตัวขึ้นมาอยู่บนชายฝั่ง เช่น พื้นที่บริเวณสุสานหอย 75 ล้านปี ที่บ้านแหลมโพธิ ตำบลไสไทย อำเภอเมือง ฯ เมืองกระบี่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชให้พระปลัดเมืองมาตั้งเพนียดจับช้างที่บ้านปกาไส ต่อมามีผู้คนมากขึ้นก็ยกฐานะเป็นแขวงเมือง แล้วได้รวบรวมแขวงเมืองต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงยกฐานะขึ้นเป็นเมืองกระบี่ แต่เนื่องจากไม่มีรายละเอียดว่าเป็นปลัดท่านใด จึงไม่สามารถกำหนดระยะเวลาลงไปได้ อย่างไรก็ตามก็มีการสันนิษฐานว่า การตั้งเพนียดจับช้างที่ปกาไสนั้นน่าจะเกิดปลายสมัยเจ้าพระยานคร (พัด) ซึ่งปกครองเมืองนคร ฯ อยู่ 27 ปี ถึง พ.ศ.2354 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะแขวงเมืองปกาสัยขึ้นเป็นเมืองและทรงพระราชทานนามว่า “เมืองกระบี่” โดยให้ตั้งที่ทำการบริหารราชการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่(บ้านตลาดเก่า) ในท้องที่อำเภอเมืองของเมืองนครศรีธรรมราช มีเจ้าเมืองคนแรกชื่อหลวงเทพเสนา และต่อมาในปี พ.ศ. 2418 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้แยกเมืองกระบี่ ออกจากการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครสำหรับการตั้งเมืองนั้น เมื่อ พ.ศ. 2433 พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอ ซิบบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาล ประสงค์จะให้เมืองอยู่ใกล้กับท่าเรือสามารถติดต่อกับต่างประเทศได้สะดวกจึงได้ย้ายศาลากลางจากตลาดเก่ามาตั้ง ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ต่อมาปี พ.ศ. 2475 ศาลากลางหลังเก่าทรุดโทรมมากจึงได้ตั้งขึ้นใหม่ ณ ริมแม่น้ำกระบี่ ตำบลปากน้ำ ตรงข้ามที่ดั้งเดิมไปทางทิศตะวันออก
ปัจจุบันนี้ เมืองเจริญขึ้น ศาลากลางหลังเก่าคับแคบ และทรุดโทรม จึงได้สร้างอาคารศาลากลางหลังใหม่ขึ้น หันหน้าไปทางพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2510ความหมายของคำว่า “กระบี่” มีตำนานเล่าลือกันมาว่า ชาวบ้านได้ขุดพบมีดดาบเล่มหนึ่ง ได้นำมามอบให้กับเจ้าเมืองกระบี่ ต่อมาไม่นานก็ขุดพบมีดดาบเล็กอีกเล่มหนึ่งรูปร่างคล้ายกับมีดดาบเล่มใหญ่ และได้นำมามอบให้กับเจ้าเมืองกระบี่ เช่นกัน เจ้าเมืองเห็นว่าควรเก็บไว้เป็นดาบคู่บ้านคู่เมืองเพื่อเป็นสิริมงคลแต่เนื่องจากขณะนั้นยังสร้างเมืองไม่เสร็จจึงได้นำดาบไปเก็บไว้ในถ้ำเขาขนาบน้ำหน้าเมืองโดยวางไขว้กัน ลักษณะการวางจึงกลายเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดกระบี่ ในปัจจุบันยังมีการสันนิษฐานอื่น ๆ เกี่ยวกับที่มาของชื่อ “กระบี่” ในความหมายที่แปลว่า “ลิง” ว่าเมืองกระบี่ก่อนแขวงเมืองปกาสัยเป็นที่ตั้งของเมือง “บันไทยสมอ” ซึ่งเป็นเมืองในสิบสองนักษัตรขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองบันไทยสมอ ใช้ตราลิงเป็นตราประจำเมืองโดยถือเอาความหมายแห่งเมืองหน้าด่านปราการ เพราะลิงในสมัยก่อนถือว่ามีความองอาจกล้าหาญเทียบเท่าทหารกองหน้า เช่น บรรดาลิงแห่งกอ
งทัพพระรามและในสภาพความเป็นจริงคนเฒ่าคนแก่ของเมืองกระบี่เล่าว่า ในสมัยก่อนมีลิงอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ได้เสด็จประพาสเมืองกระบี่ สมัยพระแก้วโกรพ (หมี ณ ถลาง) เป็นเจ้าเมือง ดังความปรากฏในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2352) พระองค์เสด็จโดยเรือถลาง ผ่านภูเก็ต พังงา มาถึงปากน้ำกระบี่ ทางเมืองกระบี่ได้จัดขบวนเรือยาวเรือพายเป็นขบวนต้อนรับเรือเข้าจอดท่าสะพานเจ้าฟ้าพระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรสถานที่ราชการ ทอดพระเนตรถ้ำหนองกก ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าถ้ำเสด็จ ทอดพระเนตรการชนควาย มวยมลายู หนังตะลุง มโนราห์ และมะยง (มะโย่ง) วันรุ่งขึ้นเรือออกจากเมืองกระบี่ผ่านเกาะลันตา แหลมกรวด ทอดพระเนตรการงมหอยนางรม วันต่อมาเสด็จเกาะลันตา
ในปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา มีกองทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งอยู่ในเมืองกระบี่ 2 แห่งคือที่บริเวณบ้านทุ่งแดง และบริเวณบ้านคลองหิน ใช้อาคารโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูลเป็นที่ตั้งกองบัญชาการ หน่วยต่อต้านญี่ปุ่นในจังหวัดกระบี่ได้ประสานงานกับเสรีไทย ผลักดันให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกไป เรือกลไฟชื่อถ่องโห ซึ่งเดิมเป็นเรือสินค้าวิ่งขนส่ง
สินค้าระหว่าง ภูเก็ต - กระบี่ - ตรัง - ปีนัง ทหารญี่ปุ่นยึดเอาไปใช้ขนส่งทหารและสัมภาระ ได้ถูกตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำฝ่ายสัมพันธมิตรยิงจมที่บริเวณเกาะหัวขวานบริเวณทะเลกระบี่ ซากเรือยังจมอยู่ใต้น้ำมาจนถึงทุกวันนี้ ในช่วงเวลาสงครามและหลังสงครามชาวกระบี่ขัดสนแร้นแค้นมากกว่าเมืองอื่น ๆ ถึงสองเท่าเพราะกระบี่ในสมัยนั้นมีความทุรกันดารเป็นปกติอยู่แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการคมนาคมทางบก ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ คงมีแต่เฉพาะทางเรือที่ติดต่อกับจังหวัด ภูเก็ต พังงา ระนอง ย่างกุ้ง ปีนัง สิงคโปร์ กระบี่เป็นเมืองช้างมาแต่โบราณ การตั้งเมืองขึ้นก็เนื่องมาจากการตั้งพะเนียดจับช้างของปลัดเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2497 ชาวบ้านได้คล้องช้างที่บ้านป่าหนองเตา ตำบลลำทับ ปัจจุบันคือบ้านป่างาม ตำบลดินอุดม คล้องช้างได้ 6 เชือก มีช้างเผือกรวมอยู่ด้วย 1 เชือก เป็นเพศผู้ อายุประมาณ 4 ปี ให้ชื่อว่าพลายแก้ว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2499 ทางจังหวัดได้แจ้งไปทางองค์การสวนสัตว์ขอน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้รับการสมโภชน์ขึ้นระวาง ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต เมื่อปี พ.ศ. 2502 ได้นามว่า พระเศวตอดุลยเดชพาหน ภูมิพลนวนาถบารมี ฯ เป็นช้างเผือกโท
ที่ตั้ง จังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ติดกับทะเลอันดามัน ระหว่างเส้นรุ้ง (Latitude) ที่ 7 องศา 23 ลิปดาเหนือ ถึง 8 องศา 40 ลิปดาเหนือ และเส้นแวง (Longtitude) ที่ 98 องศา 22 ลิปดาสตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เป็นระยะทางประมาณ 820 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,708,561 ตร.กม. หรือประมาณ 2,890,187.50 ไร่
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดจังหวัดพังงาและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดจังหวัดตรัง และทะเลอันดามัน
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดต่ออ่าวพังงา และทะเลอันดามัน
ลักษณะภูมิประเทศ
เนื่องจากจังหวัดกระบี่ตั้งอยู่ระหว่างแนวเทือกเขาหลัก ๆ ที่สำคัญของภาคใต้ 2 แนว คือแนวเทือกเขาภูเก็ตทางทิศตะวันตก และแนวเทือกเขานครศรีธรรมราชทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ต่อเนื่องจากเทือกเขาตะนาวศรี ที่ทอดตัวเป็นแนวยาว จากเหนือลงใต้ ลักษณะภูมิประเทศจึงเป็นแบบ Karst Tropography คือพื้นที่ส่วนใหญ่ จะมีภูเขาหินปูน ที่มีลักษณะเป็นภูเขาโดด ๆ เตี้ย ๆ มีถ้ำหินปูน บ่อน้ำร้อน และแอ่งน้ำที่เกิดจากการยุบตัวของพื้นดิน สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด (Undulating) ที่ราบเชิงเขา ที่ลาดเอียงไปทางชายฝั่งด้านใต้และทิศตะวันตกของจังหวัด และที่ราบแคบ ๆ แถบชายฝั่งตอนกลางของจังหวัดกระบี่ มีแนวภูเขาที่สำคัญ คือภูเขาพนมเบญจา เป็นแนวภูเขาที่อยู่ในเทือกเขาภูเก็ต วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นภูเขาที่มียอดเขาสูงที่สุดในแนวเทือกเขาภูเก็ต คือยอดเขาพนมเบญจาสูง 1,400 เมตร (อยู่ในเทือกเขาพนมเบญจา พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา) ภูเขาพนมเบญจา เป็นภูเขาที่เป็นแนวสันปันน้ำแบ่งน้ำระบายไหลลงทะเลอันดามันโดยด้านทิศตะวันตกไหลลงสู่อ่าวพังงา ด้านทิศตะวันออกไหลลงสู่แม่น้ำกระบี่ และออกสู่ทะเลอันดามันทางด้านทิศใต้ ด้านเหนือไหลไปออกสุราษฎร์ธานีจังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดที่มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 160 กิโลเมตร ลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลจมตัวหรือยุบตัว (Submerged Shoreline) อันเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก ใกล้ ๆ กับแนวแผ่นดินมีลักษณะเว้าแหว่งสูงชันต่างกัน บางบริเวณมีภูเขาติดกับชายฝั่งทะเลเช่นเขากาโรส และมีเกาะน้อยใหญ่อยู่นอกชายฝั่งเป็นจำนวนถึง 130 เกาะ โดยในจำนวนนี้มีคนอาศัยอยู่เพียง 13 เกาะเท่านั้น โดยมีเกาะที่สำคัญ ๆ ได้แก่ เกาะลันตา เกาะจำ เกาะพี-พี เกาะศรีบอยา เกาะไหง ฯลฯ พื้นที่ชายฝั่งของจังหวัดกระบี่ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลนไหล่ทวีปแคบ ๆ มีหาดทรายน้อยมีบางบริเวณที่ถูกแรงบีบอัดของเปลือกโลกทำให้พื้นที่ยกตัวขึ้นมาอยู่บนชายฝั่งอีกครั้งหนึ่ง เช่น บริเวณสุสานหอย 75ล้านปี บ้านแหลมโพธิ์ ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ลักษณะภูมิอากาศจังหวัดกระบี่

มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมในเขตร้อน (Monsoon climate) มีฝนตกเฉลี่ยเกือบตลอดทั้งปีเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากทั้งลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิในฤดูกาลต่างๆ ไม่แตกต่างมากนักคืออยู่ระหว่าง 16.9 องศา–37.3 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยปีละประมาณ 2,568.5 มิลลิเมตร ด้วยเหตุที่จังหวัดกระบี่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ซึ่งได้รับลมมรสุมทั้งสองด้าน คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะได้รับลมอย่างเต็มที่เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนกันยายน ทำให้มีฝนตกมากและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวของประเทศพัดผ่านน่านน้ำอ่าวไทยได้คลายความหนาวเย็นลงจนหมดสิ้นแต่กลับอุ้มน้ำเอาไอน้ำไว้มากเมื่อพัดเข้าฝั่งและปะทะกับภูเขาทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ จึงทำให้ฝนตกทางฝั่งตะวันออกมากกว่าฝั่งตะวันตก และเป็นเหตุให้ฝนตกน้อยในจังหวัดกระบี่เพราะอยู่ด้านปลายลมคือเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-เดือนมกราคมนอกจากนี้ยังมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือถอยไปจะมีลมระหว่างทิศใต้ และทิศตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาแทนที่ ซึ่งเกิดจากความกดอากาศสูงในทะเลจีนใต้เป็นลมร้อนและชื้น ลมมรสุมนี้พัดประจำอยู่ตลอด 3 เดือน คือเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน จึงทำให้มีฝนตกน้อยกว่าระยะอื่น ๆ ของปี
ฤดูกาลในจังหวัดกระบี่

มี 2 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน แต่มีฝนตกน้อยเนื่องจากภูเขาทางตอนกลางของภาคใต้ขวางกั้นอิทธิพลของลม เดือนมกราคมเป็นช่วงปลายฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีฝนตกบ้างเล็กน้อย ในเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน เป็นช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่านภาคใต้ทางชายฝั่งตะวันออก อิทธิพลของลมเข้าถึงจังหวัดกระบี่น้อยมาก จึงเป็นช่วงที่ร้อนและแห้งแล้งมากที่สุดของจังหวัดกระบี่
2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม จะมีฝนตกสม่ำเสมอตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม เนื่องจากเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านและจังหวัดกระบี่ตั้งอยู่ด้านรับลม ปริมาณน้ำฝนประมาณ 200-300 มม.ต่อเดือน ในเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคมเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยและเข้าสู่ภาคใต้ทางด้านชายฝั่งตะวันออก อิทธิพลของลมเข้ามาถึงจังหวัดกระบี่ไม่มากนัก เนื่องจากมีเทือกเขานครศรีธรรมราช และเขาพนมเบญจา ขวางกั้นอิทธิพลของลมจึงทำให้มีฝนตกน้อย ปริมาณน้ำฝนในช่วงนี้ประมาณ 100 มม.ต่อเดือน
อาชีพ
1.ภาคเกษตรกรรม ที่สำคัญได้แก่ ยางพารา เป็นพืชที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดกระบี่ พิจารณาจากการใช้พื้นที่เกษตรโดยรวมของจังหวัดคิดเป็นร้อยละ 55 (ประมาณ 661,571 ไร่) ในแต่ละปีจะมีผลผลิตยางดิบออกสู่ตลาดประมาณ 134,000 ตัน มูลค่าผลผลิตรวมกันประมาณ 2,415 ล้านบาทต่อปี รองลงมาคือปาล์มน้ำมัน คิดเป็นร้อยละ 33 ของพื้นที่เกษตรโดยรวมทั้งจังหวัด นอกนั้นมี กาแฟ, โกโก้, สวนผลไม้ (เช่นมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ) และประมง ซึ่งมีผู้ประกอบการคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรในจังหวัด
2.อุตสาหกรรม มีโรงงาน 294 แห่ง อุตสาหกรรมหลักคือ อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม มีโรงงาน 10 โรง อุตสาหกรรมเกี่ยวกับยางพารา 6 โรงงาน อุตสาหกรรมแปรรูปและอัดอบไม้ยางพารา 4 โรงงาน และอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง 2 โรงงาน
3.ธุรกิจการท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่ได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดท่องเที่ยวตั้งแต่ พ.ศ.2538 มีแหล่งท่องเที่ยวถึง 52 แห่ง โดยแบ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ 48 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน 2 แห่ง และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และหัตถกรรม 2 แห่ง มีนักท่องเที่ยวมาเยือนปีละประมาณ 651,978 คน (สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่:2539) นับเป็นสาขาการผลิตที่นำเงินมาสู่จังหวัดกระบี่เป็นจำนวนมาก
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดกระบี่

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ครอบคลุมบริเวณท้องที่ตำบลหนองทะเล ตำบล-ไสไทย ตำบลอ่าวนาง และตำบลปากน้ำ ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่งด้วยกัน เช่น หาดนพรัตน์ธารา อ่าวนาง สุสานหอย และหมู่เกาะพีพี

หาดนพรัตน์ธารา อยู่ห่างจากตัวเมือง 18 กิโลเมตร ชายหาดมีความยาวเกือบ 3 กิโลเมตร เดิมชาวบ้าน เรียกว่า "หาดคลองแห้ง"ทั้งนี้เพราะเมื่อน้ำลงน้ำคลองที่ ไหลมาจากภูเขาทางด้านเหนือจะแห้งขอดกลายเป็น หาดทรายยาวเหยียดทอดลงไปในทะเลบรรจบกับเกาะ เขาปากคลอง ในปี 2503 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สมัยที่ ดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้มาพักผ่อนและประทับใจใน ความงามของธรรมชาติ จึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า "หาดนพรัตน์-ธารา" บริเวณชายหาดมีสถานที่พัก ของอุทยานฯ บริการแก่นักท่องเที่ยว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราฯ ตู้ ป.ณ. 23 อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 หรือ ที่กองอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ โทร. 579-0529


หมู่เกาะพีพี เป็นหมู่เกาะกลางทะเล อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า “ปูเลาปิอาปิ” คำว่า “ปูเลา” แปลว่าเกาะ คำว่า “ปิอาปิ” แปลว่าต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม และโกงกาง ต่อมาเรียกว่า “ต้นปีปี” ซึ่งภายหลังกลายเสียงเป็น “พีพี” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งบุปผาใต้สมุทรนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหมู่เกาะนี้ส่วนใหญ่มาเพื่อดำน้ำดูปะการังดอกไม้ทะเล และปลาหลากสีสันที่สวยงาม นอกจากนั้นยังมีเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ กระบี่-ภูเก็ต-หมู่เกาะพีพี ประกอบด้วยเกาะ 6 เกาะ คือ เกาะพีพีเล เกาะพีพีดอน เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะบิดะนอก และเกาะบิดะใน ซึ่งแต่ละเกาะมีหาดทรายสวย น้ำทะเลใส

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของหมู่เกาะพีพี

เกาะพีพีดอน มีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร จุดเด่นของเกาะคือเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงามติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทรและอ่าวโละดาลัม อ่าวต้นไทรเป็นที่ตั้งของท่าเรือเกาะพีพี และมีสถานที่พักและร้านค้าจำนวนมาก จากอ่าวต้นไทรสามารถเดินขึ้นเขาไปยังจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเวิ้งอ่าวคู่ได้ เกาะพีพีดอนยังมีหาดทรายและอ่าวที่สวยงามกระจายอยู่รอบเกาะ บางแห่งมีที่พักบริการ เช่น หาดแหลมหิน หาดยาว อ่าวโละบาเทา ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเลประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ ในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงมีธรรมชาติใต้ทะเลที่สวยงามและบนหาดมีที่พักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือเที่ยวหรือดำน้ำดูปะการังรอบเกาะพีพีดอนและเกาะพีพีเลได้ ราคาประมาณ 1,500 บาทต่อลำต่อวัน
เกาะพีพีเล มีพื้นที่เพียง 6.6 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยภูเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับผิวทะเลโดยรอบเกือบทั้งเกาะ มีพื้นน้ำลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร มีบริเวณน้ำลึกที่สุดประมาณ 34 เมตรอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ เกาะแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวสวยงาม อาทิ อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา(สถานที่ถ่ายทำเจมส์บอน 007) อ่าวโละซามะ นอกจากนี้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมีถ้ำไวกิ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “ถ้ำพญานาค” ตามรูปร่างหินก้อนหนึ่งที่คล้ายเศียรพญานาค อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านที่มาเก็บรังนกนางแอ่นบนเกาะแห่งนี้ ภายในถ้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เป็นรูปช้างและรูปเรือชนิดต่างๆ เช่น เรือใบยุโรป เรือใบอาหรับ เรือสำเภา เรือกำปั่น เรือใบใช้กังหัน และเรือกลไฟ เป็นต้น สันนิษฐานว่าภาพเขียนเหล่านี้เป็นฝีมือของนักเดินเรือหรือพวกโจรสลัด เพราะจากการศึกษาเส้นทางเดินเรือจากฝั่งตะวันตกไปยังฝั่งตะวันออก บริเวณนี้อาจเป็นจุดที่เรือสามารถแวะพักหลบลมมรสุมขนถ่ายสินค้าหรือซ่อมแซมเรือได้
นกโจรสลัด เป็นนกในวงศ์นกฟีเกตที่เป็นนกขนาดใหญ่ ปีกกว้าง มีหน้าตาเหมือนนกโบราณล้านปี สามารถร่อนบินหากินได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร ในโลกมีนกวงศ์นี้อยู่ 5 ชนิด โดยพบ 3 ชนิดที่น่านน้ำอันดามัน โดยเฉพาะที่เกาะบิด๊ะซึ่งเป็นที่เดียวในเมืองไทยที่พบนกวงศ์นี้ สำหรับเจ้านกโจรสลัด พฤติกรรมของมันดูแล้วช่างคล้ายกับโจรสลัดยิ่งนัก เพราะมันจะออกหากินด้วยการบินโฉบไปมาบนท้องฟ้าคอยแย่งอาหารจากนกตัวอื่นจนผู้คนเรียกขานมันว่า“นกโจรสลัด” ซึ่งจะพบเห็นนกชนิดนี้ได้ในตอนกลางวันยามที่มันบินออกหากิน ส่วนช่วงเย็นยามตะวันชิงพลบมันจะบินกลับรังที่อยู่บนยอดเขาของเกาะบิด๊ะนับร้อยๆตัว
เกาะยูง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน มีชายหาดเป็นหาดหินอยู่ทางด้านทิศตะวันออก และมีหาดทรายเล็กน้อยตามหลืบเขา นอกจากนี้ยังมีแนวปะการังสวยงามชนิดต่าง ๆ
เกาะไม้ไผ่ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะพีพีดอน ไม่ไกลจากเกาะยูงเท่าใดนัก ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกมีหาดทรายสวยงาม และแนวปะการังซึ่งส่วนมากเป็นแนวปะการังเขากวางทอดยาวไปถึงทางทิศใต้ของเกาะ บนเกาะมีสถานที่กางเต็นท์ สอบถามข้อมูลจากอุทยานฯ
การเดินทางไปหมู่เกาะพีพี
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังหมู่เกาะพีพีได้ทั้งจากกระบี่และภูเก็ต จากท่าเรือเจ้าฟ้าในตัวเมืองกระบี่ มีเรือโดยสารออกจากกระบี่ไปเกาะพีพี วันละ 2 เที่ยว เวลา 10.00 น. และ 14.30 น. และจากเกาะพีพีกลับกระบี่ เรือออกเวลา 09.00 น. และ 13.00 น. ค่าโดยสารคนละ 150 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณสอง ชั่วโมงครึ่ง และมีเรือเร็วนำเที่ยวเช้าไปเย็นกลับ ออกจากอ่าวนาง เวลา 09.00 น. และกลับเวลา 17.00 น. ติดต่อโทร. 075-637-152-3 สำหรับบริษัท อันดามัน เวฟ มาสเตอร์ จะมีเรือโดยสารออกจากท่าเรือเจ้าฟ้า เรือออกเวลา 10.00 น. และ 14.00 น. ค่าโดยสารคนละ 200 บาท สนใจสอบถามได้ที่ บริษัท เอ ดี วี จำกัด ถนนข้าวสาร โทร. 02-281-1463-5 หรือ บริษัท อันดามัน เวฟ มาสเตอร์ จำกัด โทร. 075-630-471 ส่วนการเดินทางจากภูเก็ตมีเรือนำเที่ยวเกาะพีพีแบบเช้าไปเย็นกลับ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อได้ที่บริษัททัวร์ทั่วไปในตัวเมืองภูเก็ต
นอกจากนี้บริเวณอ่าวต้นไทรบนเกาะพีพีดอน มีเรือหางยาวให้เช่าไปเที่ยวตามชายหาดต่าง ๆ รวมถึงเกาะพีพีเลด้วย บริษัท พีพี แฟมิลี่ จำกัด โทร. 075-612-463
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พ.พ.4 (ทับแขก) เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานฯ ใช้เส้นทางตามทางหลวง 4200 จนถึงสี่แยกคลองจิหลาด เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 4034 ตรงไปถึงสามแยกบ้านหนองทะเล เลี้ยวซ้ายตรงไปบ้านคลองม่วง และเลี้ยวขวาอีกครั้งตรงไปที่ทำการหน่วยพิทักษ์ฯ ระยะทาง 38 กิโลเมตร พื้นที่เป็นภูเขาที่สมบูรณ์ด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า มีจุดชมวิวที่สวยงามคือหงอนนาค ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของทะเลกระบี่ได้อย่างสวยงาม หน่วยพิทักษ์ฯ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 3.7 กิโลเมตร ต้องมีคนนำทาง

เกาะปอดะ อยู่ทางทิศใต้ของอ่าวนาง ห่างจากฝั่งประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาว น้ำทะเลใส บริเวณชายฝั่งของเกาะจะมองเห็นแนวปะการังหลากชนิดที่ยังสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งดึงดูดของนักท่องเที่ยวให้เที่ยวชมได้เกือบตลอดปี และเป็นจุดที่ตกปลาได้ดีเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากลมมรสุมมากนัก สามารถเช่าเรือได้จากบริเวณอ่าวนาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 25 นาที ใกล้ ๆ กับเกาะปอดะเป็นที่ตั้งของเกาะทัพ เกาะหม้อ เกาะหัวขวาน เกาะไก่ ซึ่งมีสันทรายเชื่อมต่อกันสวยงามมองเห็นได้เวลาที่น้ำลง
อ่าวนาง อยู่ห่างจากหาดนพรัตน์ธารา ตามถนนเลียบชายทะเลระยะทาง 6 กิโลเมตร เป็นชายหาดยาว มีที่พักร้านค้า บริษัทนำเที่ยว บริการหลายแห่ง ทิวทัศน์โดยรอบสวยงามแปลกตาด้วยภูเขาหินปูนตระหง่าน จากอ่าวนางสามารถเช่าเรือไปเที่ยวชายหาดด้านทิศตะวันออกได้แก่ หาดไร่เล ซึ่งเป็นหาดทรายสีขาวละเอียด และ หาดถ้ำพระนาง ซึ่งมีถ้ำหินงอกหินย้อยและกิจกรรมปีนหน้าผาที่น่าตื่นเต้น ท้องทะเลในบริเวณอ่าวนางมีเกาะใหญ่น้อยกว่า 83 เกาะ บางเกาะมีรูปร่างประหลาดคล้ายรองเท้าบู๊ท เรือสำเภา หัวนก เกาะที่มีหาดทรายสวยงามและคนนิยมไปเที่ยวเล่นน้ำชมปะการังได้แก่ เกาะปอดะ เกาะหม้อ และเกาะทัพ
สำหรับค่าโดยสารเรือจากอ่าวนางไปยังหาดและเกาะต่าง ๆ เช่น อ่าวนาง-ไร่เล ใช้เวลา 10 นาที ค่าโดยสารคนละ 50 บาท อ่าวนาง-ถ้ำพระนาง ใช้เวลา 15 นาที ค่าโดยสารคนละ 50 บาท อ่าวนาง-เกาะปอดะ ใช้เวลา 25 นาที ไป-กลับ ค่าโดยสารคนละ 200 บาท อ่าวนาง-เกาะไก่ ไป-กลับ ใช้เวลา 25 นาที ค่าโดยสารคนละ 250 บาท อ่าวนาง-หมู่เกาะห้อง ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ราคาค่าเรือลำละ 1,500 บาท สำหรับเวลากลางคืน อ่าวนาง-ไร่เล ค่าโดยสารคนละ 80 บาท สามารถเช่าเรือได้ตั้งแต่เวลา 07.00–19.00 น.
การเดินทางไปอ่าวนางจากตัวเมืองกระบี่ นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารรถสองแถว ค่าโดยสาร 20 บาท ใช้เวลาประมาณ 45 นาที หรือหากต้องการเดินทางจากตัวเมืองกระบี่ไปยังหาดไร่เลโดยตรง สามารถโดยสารเรือได้ที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ใช้เวลา 45 นาที ค่าโดยสารคนละ 70 บาท
*** หมายเหตุ: ราคาค่าโดยสารอาจมีการเปลี่ยนแปลง

สุสานหอย 75 ล้านปี บริเวณชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีซากดึกดำบรรพ์ของหอยน้ำจืดชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นหอยขม มีขนาดยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซากหอยเหล่านี้ได้ทับถมกันโดยมีน้ำประสานธาตุปูนจับตัวให้กลายเป็นหินแข็งทับอยู่ชั้นหินลิกไนท์ และหินดินดาน นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ และเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก ช่วงแรกประมาณกันว่าสุสานหอยแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อ 75 ล้านปีมาแล้ว มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร กว้าง 50 เมตร เป็นแผ่นหอยที่เกาะตัวกันจนแข็งเป็นแผ่นหินสลับกับชั้นของถ่านลิกไนต์ หนาประมาณชั้นละ 10 นิ้ว ต่อมาแผ่นดินถูกยกตัวขึ้นจีงปรากฏเป็นลานหินกว้างใหญ่ริมทะเล จากการคำนวณอายุทางธรณีวิทยาพบว่า ฟอสซิลเหล่านี้มีอายุราว 40 ล้านปีนอกจากนี้บริเวณสุสานหอยยังมีตัวอย่างซากฟอสซิลของหอยทั้ง 3 แบบ และมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวไว้ให้บริการข้อมูลต่างๆ แก่นักท่องเที่ยวด้วย แต่เดิมบริเวณสุสานหอยแห่งนี้เคยเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีหอยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหอยขมขนาดราว 2 ซม. ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณพื้นผิวโลก น้ำทะเลไหลเข้ามาท่วมบริเวณหนองน้ำจนหมด ทำให้ธาตุหินปูนในน้ำทะเลหล่อเปลือกหอยใต้น้ำจนเป็นเนื้อเดียวกัน กลายเป็นแผ่นหินแข็งที่เรียกว่า Shelly Limestone หนาประมาณ 40 ซม. เมื่อแผ่นดินบริเวณนี้ถูกยกตัวสูงขึ้น ซากฟอสซิลเหล่านี้จึงปรากฎให้เห็นเป็นลานหินกว้างใหญ่ยื่นลงไปในทะเล ซึ่งสุสานหอยอายุหลายสิบล้านปีนี้มีเพียง 3 แห่งในโลกเท่านั้น คือ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐชิคาโก) ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ภายในบริเวณสุสานหอย มีศาลาสำหรับชมวิวทะเลอันสวยงามด้านบน เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ภายในบริเวณสุสานหอยยังมีร้านขายของที่ระลึกจำนวนมากคอยบริการนักท่องเที่ยว และที่แห่งนี้มีห้องน้ำที่สะอาดไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย
ค่าธรรมเนียมการเข้าชมคนไทย เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาทต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 08.30 น. ถึง 17.00 น. ทุกวัน
การเดินทาง ห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับหาดนพรัตน์ธารา

ถ้ำไวกิ้ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะพีพีเล ซึ่งเมื่อปี พ.ศ.2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า ถ้ำพญานาค ตามรูปร่างหินก้อนหนึ่งที่คล้ายเศียรพญานาค อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านที่เก็บรังนกนางแอ่นบนเกาะแห่งนี้ ภายในถ้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เป็นรูปช้าง และรูปเรือชนิดต่างๆ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะชมได้บริเวณหน้าปากถ้ำ เนื่องจากผู้ที่ดูแลถ้ำกลัวว่าจะเป็นการรบกวนนกนางแอ่นในการทำรัง จึงเปิดให้ชมในบางโอกาสเท่านั้น

น้ำตกร้อนคลองท่อม
ตั้งอยู่บริเวณบ้านบางคราม-บ้านบางเตียว Unseen in Thailand เป็นน้ำพุร้อนแห่งหนึ่งในบรรดาน้ำพุร้อนอีกหลายแห่งที่กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณนี้ น้ำจะไม่ร้อนมากนัก เหมาะแก่การลงไปแช่น้ำ น้ำที่ไหลมาไม่ค่อยแรงมากนัก โดยซึมขึ้นมาจากพื้นดินแล้วไหลลงสุ่ที่ราบ ลำธารที่น้ำร้อนไหลผ่านจะมีสีเขียวของตะกอนและมีควันลอยขึ้นมาให้เห็น บริเวณโดยรอบเป็นมีต้นไม้ปกคลุมร่มรื่น และยังมีบ่อกักเก็บน้ำร้อนก่อนทางเข้าน้ำตก นักท่องเที่ยมักลงไปแช่น้ำเพื่อรักษาสุขภาพ และความสบายตัว มีอุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส สายน้ำไหลไปรวมกันตามความลาดเอียงของพื้นที่
ค่าธรรมเนียมการเข้าชมคนไทย เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาทต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 08.30 น. ถึง 17.00 น. ทุกวัน
การเดินทาง อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกระบี่ตามถนนเพชรเกษม (กระบี่-ตรัง) ประมาณ 45 กิโลเมตรจากนั้นแยกเข้าถนนสุขาภิบาล 2 ตรงที่ว่าการอำเภอคลองท่อมไปอีก 12 กิโลเมตร

สระมรกต เป็นสระสีเขียวกลางธรรมชาติที่ร่มรื่น โดยสระน้ำมีขนาดกลาง สามารถลงเล่นน้ำได้ น้ำในสระจะอุ่น เพราะกำเนิดมาจากธารน้ำอุ่น ในผืนป่าที่ราบต่ำภาคใต้ เป็นน้ำพุร้อนลักษณะเป็นสระน้ำร้อน 3 สระ น้ำใสเป็นสีเขียวมรกต มีอุณหภูมิประมาณ 30-50 องศาเซลเซียส รอบๆ บริเวณเป็นป่าร่มรื่นเขียวครึ้มมีพรรณไม้ที่น่าสนใจ รวมทั้งนกที่หาดูได้ยากเช่น นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเต็นสร้อยคำสีน้ำตาล และนกเงือกดำ โดยมีมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติทีนา โจลิฟฟ์ (ทุ่งเตียว) ซึ่งตั้งชื่อตามคุณทีนา โจลิฟฟ์ ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มความคิดที่จะรักษาอนุรักษ์ป่าดิบชื้นผืนนี้ไว้ไม่ให้ถูกทำลาย เพื่อเป็นการระลึกถึงความตั้งใจและเป็นอนุสรณ์สำหรับคุณทีนา จึงตั้งชื่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นนี้ว่า เส้นทางศึกษาธรรมชาติทีนา โจลิฟฟ์ (ทุ่งเตียว) เส้นทางเดินศึกษานี้มีระยะทาง 2.7 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายที่จะคอยบอกเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ในป่าให้นักเดินทางได้ศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ก่อนถึงสระมรกตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ประมาณ 800 เมตร เส้นทางจะผ่านผืนป่าเล็ก ๆ ซึ่งเป็นป่าที่ราบต่ำที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยทางภาคใต้ของประเทศไทย เส้นทางนี้จะแสดงลักษณะของป่าดิบชื้นที่ราบต่ำอย่างแท้จริง ภายหลังได้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางครามขึ้น จึงเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว ภายในสระมรกตไม่มีร้านค้า จะมีอยู่ปากทางเข้าชมสระมรกต

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ตั้งอยู่ที่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นหมู่เกาะที่ประกอบไปด้วยอ่าวและหาดทรายที่สวยงามมากมายหลายที่ด้วยกัน อ. เกาะลันตา ประกอบด้วยเกาะสามเกาะเรียงตัวจากเหนือ-ใต้ อันได้แก่ เกาะลันตาน้อย เกาะกลาง และเกาะลันตาใหญ่ และเกาะเล็กๆ อีก มากมายราว 49 เกาะ ศูนย์กลางของเกาะอยู่บริเวณบ้านศาลาด่าน เกาะลันตาใหญ่ เนื่องจากเป็นท่าเทียบเรือ นักท่องเที่ยวส่วนมากนิยมเดินทางมาด้วยแพขนานยนต์และมาขึ้นที่ท่าเรือนี้ บริเวณนี้จะมีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ร้านอาหาร, ร้านขายของที่ระลึก, ที่พักหลายสไตล์, ร้านอินเทอร์เนต นอกจากมีอ่าวและหาดทรายที่สวยงามแล้วยังจะได้สัมผัสกับธรรมชาติแบบอื่นด้วย ที่เกาะลันตายังมีโถงถ้ำสำหรับผู้ที่รักการผจญภัย ชอบการปีนป่ายและมีน้ำตกที่สวยงาม ที่เคาเตอร์ของรีสอร์ทแต่ละแห่งจะมี แพ็คเก็จทัวร์จำหนายอยู่ อาทิ เช่น ดำน้ำที่เกาะรอก นั่งเรือสเร็วเที่ยวรอบเกาะ ขี่ช้าง ชมถ้ำแก้ว ฯลฯ
สถานที่ท่องเที่ยว ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
เกาะลันตาใหญ่
เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน อ. เกาะลันตา ตรงกลางของเกาะเป็นแนวเขายาวจรดใต้ หาดทรายด้านตะวันตกจะมีความสวยงามมากกว่า และเล่นน้ำได้ ขณะที่ด้านตะวันออกจะหันหน้าเข้าหาแผ่นดินไม่มีหาดทรายที่สวย แต่เป็นเส้นทางไปสู่หมู่บ้าน ชุมชนของชาวบ้าน และตัวอำเภอ ด้านตะวันตกหันหน้าสู่ทะเลอันดามัน หาดทรายสี่ขาวตลอดแนว น้ำทะเลใส บริเวณด้านตะวันตกนี้ไม่มีจุดดำน้ำ เหมาะสำหรับพักผ่อนเล่นน้ำ นอนอาบแดดบนชายหาด ตอนกลางของเกาะจะมีถ้ำ นักท่องเที่ยวนิยม เดินป่า นั่งช้าง เที่ยวถ้ำหรือเล่นน้ำตก ชึ่งจะได้บรรยากาศผจญภัยไปอีกแบบ
บ้านศาลาด่าน หมู่บ้านเล็กๆ เป็นทั้งท่าเรือระหว่างเกาะลันตา กับ เกาะพีพี ท่าเรือเจ้าฟ้าที่กระบี่ เป็นแหล่งชุมชนอยู่บนสุดของเกาะลันตาใหญ่ มีร้านค้า ทัวร์ดำน้ำ ซุปเปอร์มาเก็ต ธนาคาร ตลาด สถานี่รถสองแถว และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
หาดคอกวาง อยู่บริเวณแหลมคอกวาง เป็นโค้งอ่าวที่สวยงามเว้าเข้าหากันเป็นรูปคอกวาง มีชายหาดที่ทรายไม่ขาวมากนักแต่มีบรรยากาศที่น่าพักผ่อน เพราะมีความร่มรื่นจากทิวสนทะเล ที่ขึ้นขนานเป็นแนวตลอดชายหาด เป็นแหล่งชมพระอาทิตย์ตกอันเลื่องชื่อ
หาดคลองดาว หรือหาดโล๊ะบาหรา
หาดที่มีความยาว 3 กิโลเมตร หาดทรายสีขาวปนเทาอ่อนๆ เมื่อน้ำลงจะเป็นหาดที่กว้างและสะอาดมาก นักท่องเที่ยวให้ความนิยมมากที่สุด สามารถลงเล่นน้ำได้อย่างสบาย เป็นหาดแรกที่ได้รับความนิยมจวบจนทุกวันนี้ หาดคลองดาวนี่เองอยู่ไม่ไกลจากท่าเรือศาลาด่าน ใกล้แหล่งความเจริญจึงมีความครึกครื้นมากกว่าหาดอื่นๆ ตกกลางคืนจะมีแสงสีจากร้านอาหาร ร้านบาร์เบียร์ มีการปิ้งย่างซีฟูดส์กันริมทะเลเป็นที่สนุกสนาน เหมาะสำหรับผู้ที่รักความสนุกสนาน และด้วยความที่มีรีสอร์ทตั้งอยู่มากมายหลากหลายไสตล์ หลายราคาให้นักท่องเที่ยวได้เลือก หาดคลองดาวจึงไม่เหงาทั้งกลางวันและกลางคืน
เนื่องจากกระบี่เป็นจังหวัดที่มีเกาะเยอะมากจึงยังทีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่อีกมากมายที่ยังไม่ได้นำมาให้ชมไว้ ณ ที่นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น